วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการปลูกสับปะรดห้วยมุ่น

การเตรียมดิน

การ เลือกพื้นที่เพาะปลูกสัปปะรดนั้นต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายน้ำได้ดี พื้นที่จะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง การเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกสัปปะรดมี 2 ขั้นตอน ดังนี้

ครั้งที่ 1 : ต้องไถปั่นเศษวัชพืช 1 ครั้ง เพื่อให้วัชพืชย่อยสลายง่ายขึ้น

ครั้งที่ 2 : ต้องไถพรวนประมาณ 1-2 ครั้ง เพื่อปรับหน้าดินพร้อมที่จะปลูก

วิธีการปลูก

    คัดหน่อ  หรือจุกให้มีขนาดเท่ากัน
    ต้องปลูกแถวคู่ ระยะห่างระหว่างต้น 20-30 ซม. ระหว่างแถว 50-60 ซม. ระหว่างแถวคู่  80-90 ซม.

การใส่ปุ๋ย

ครั้งที่ 1 : หลังการปลูกประมาณ 2 อาทิตย์

    สูตร 21-0-0 จำนวน 2 กระสอบ
    สูตร 0-0-60 จำนวน  1  กระสอบ

โดยใช้ปุ๋ยทั้งสองสูตรผสมกันแล้วนำไปใส่ลงกาบใบล่างประมาณ 1 ช้อนแกงต่อต้น

ครั้งที่ 2 : หลังจากปลูกได้ 2 เดือนเพื่อเร่งสะโพกให้ต้นเป็นสาว(พร้อมให้ลูก) โดยฟันใบออก ประมาณ 1 ส่วน 4 ของต้น แล้วให้ปุ๋ยทางใบ

    สูตร 21-0-0 จำนวน 3 กิโลกรัม
    สูตร 0-0-60 จำนวน  5 กิโลกรัม
    ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 10 วันต่อครั้ง

ครั้งที่ 3 : ก่อนบังคับออกผล ประมาณ 1 เดือน


    สูตร 21-0-0 จำนวน 10 กิโลกรัม
    สูตร 0-0-60 จำนวน  5 กิโลกรัม
    ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่อนได้ประมาณ 2500 ต้น ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 อาทิตย์ ใบเริ่มแปะ ออกเพื่อพร้อมที่ออกลูก

ครั้งที่ 4 : ก่อนหยอดสารเคมีเร่งออกดอก ประมาณ 7 วัน สังเกตจากยอดเริ่มแปะออกให้ปุ๋ยทางใบ โดยใช้สูตร

    สูตร 21-0-0 จำนวน 10 กิโลกรัม
    สูตร 0-0-60 จำนวน  5 กิโลกรัม
    ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่อนก่อนบังคับผล 7 วัน

การใช้สารเคมีบังคับผล

 

          อีทาฟอน 45 เปอร์เซ็นต์  ใช้ในอัตรา 150 ซีซี และปุ๋ยสูตร 46-0-0  จำนวน 3 กก. ผสมน้ำ200 ลิตร ฉีดพ่นหลังเวลา 4 โมงเย็นขึ้นไป ฉีดซ้ำอีกรอบ ช่วง 5-7 วัน จะทำให้สับปะรดมีก้านสั้น ลูกกลม เนื้อแน่น น้ำหนักดี เมื่อสับปะรดเริ่มออกดอกตรงยอดจะมีสีแดง  ออกดอกเท่าเหรียญบาท ระหว่างสร้างดอกควรให้ปุ๋ยทางใบด้วย โดยใช้ปุ๋ย(ทางใบ) ฉีดพ่น

การเร่งตา

          หลังจากดอกสับปะรดเริ่มโรยลงให้ใช้ปุ๋ยทางใบ  ขนาดของตากว้างประมาณ 18 เซนติเมตร จะประมาณการได้ว่าสับปะรดจะมีน้ำหนักประมาณลูกละ 1.5 กก.ขึ้นไป


วิธีห่อลูกสับปะรด

          ใช้กระดาษหนังสือพิมห่อ

การให้ปุ๋ยหลังจากสับปะรดออกหัว


          ระยะที่สับปะรดเป็นหัวห้ามใช้ปุ๋ย 21-0-0 หรือปุ๋ยไนเตรทอื่นๆ เพราะจะทำให้มีสารตกค้างอันตรายต่อผู้บริโภคให้ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ เช่นปุ๋ยส้ม 0-0-60 หรือปุ๋ยหวานอื่นๆ

การให้น้ำ

          สับปะรดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ก็ต้องการน้ำไปช่วยการเจริญเติบโตเป็นระยะ เกษตรกรสามารถวางแผนให้สับปะรดออกลูกได้ด้วยตนเอง (ไม่ต้องเสียเวลารอน้ำฝน) ช่วงที่สับปะรดต้องการน้ำอยู่ในช่วง

    เริ่มปลูกใหม่
    ระยะการให้น้ำ 10 วันต่อ 1 ครั้ง
    ช่วงออกลูก

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

น้ำตกภูสอยดา


           น้ำตกภูสอยดาว อยู่ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นน้ำตกขนาดกลางมีทั้งหมด 5 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี แต่จะมีน้ำมากในช่วงหน้าฝน มีบันไดเดินขึ้นชมน้ำตกแต่ละชั้นได้อย่างสะดวก

           ลานสน การเดินทางสู่ยอดลานสนต้องขึ้นเขาลาดชันเกือบตลอดเส้นทาง และผ่านเนินต่าง ๆ ที่มีชื่อบอกถึงความยากลำบากในการเดินผ่านแต่ละเนิน เช่น เนินส่งญาติ เนินปราบเซียน เนินป่าก่อ เนินเสือโคร่ง และเนินมรณะ ที่มีความสูงชันมากที่สุด แต่เส้นทางที่เดินขึ้นไปนั้นไม่ยุ่งยาก เพราะจะเดินไต่เขาขึ้นไปตามสันเขาไม่มีทางแยกไปไหน

          ระยะทางเดินเท้าขึ้น ลานสนประมาณ 6.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5-6 ชั่วโมง บนลานสนจะเป็นทุ่งหญ้า มีต้นสนสองใบ สนสามใบ ต้นหงอนนาค ที่มีสีม่วงตัดกับดอกสร้อยสุวรรณาที่มีสีเหลือง ออกดอกให้ดูสวยงาม และดอกไม้อีกนานาชนิดที่ขึ้นอวดความสวยงามและสร้างความสดชื่นสดใสให้กับลาน สน บนลานสนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามด้วย

           บนลานสนไม่มีบ้านพัก และอาหาร หากต้องการจะขึ้นไปพักค้างแรมต้องเตรียมเต็นท์และอาหารไปเอง และหากนักท่องเที่ยวต้องการลูกหาบช่วยขนสัมภาระก็มีบริการ การจะขึ้นบนลานสนต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทาง และอุทยานฯ จะอนุญาตให้ขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 08.00–13.00 น.

เขื่อนสิริกิติ์


          เป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อสร้างขึ้น ตามโครงการพัฒนา  ลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ "เขื่อนผาซ่อม" ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ก่อสร้างขึ้น ปิดกั้นแม่น้ำน่าน ณ บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 58 กิโลเมตร         
แม่น้ำน่าน
          นับเป็นลำน้ำสาขาสำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นกำเนิดจากดอยภูแว ในเทือกเขา หลวงพระบาง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนกับประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ในเขตท้องที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน ลำน้ำน่านตอนต้นไหลไปทางทิศเหนือ คดเคี้ยวไปทางทิศตะวันตก แล้วไหลผ่านอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในช่วงนี้จะมีที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ ติดต่อกันจนถึง อำเภอสา จังหวัดน่าน แต่ก็เป็นที่ราบแคบ ๆ จากนั้น แม่น้ำน่านจะไหลผ่านหุบเขา ในเขตพื้นที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เข้าเขตอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วไหล ไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัด อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำยม ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ แล้วไหลรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลแควใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไปโดยมีความยาวตลอดลำน้ำถึง 615 กิโลเมตร ซึ่งนับว่ายาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน และมีพื้นที่ลุ่มน้ำถึง 33,130 ตารางกิโลเมตรที่ราบสองฝั่ง แม่น้ำน่าน ตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงมาจำนวน 1,800,000 ไร่ ในเขตชลประทานพิษณุโลก นับว่าเป็นทุ่งราบที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศ และเหมาะแก่การเกษตรกรรมอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ก่อน มักถูกน้ำท่วม เป็นประจำเพราะไม่มีระบบควบคุมน้ำ รัฐบาลจึงได้มีการวางแผนพัฒนา ลุ่มน้ำน่านขึ้นมา 3 ระยะ คือ         

           ระยะที่ 1 ก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ในอ่างสำหรับประโยชน์ ทางด้านการชลประทาน และการผลิตกระแสไฟฟ้า

           ระยะที่ 2 ก่อสร้างเขื่อนนเรศวรขึ้นที่บ้านหาดใหญ่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นเขื่อนทดน้ำ พร้อมทั้งก่อสร้างระบบส่งน้ำสำหรับพื้นที่สองฝั่งในอำเภอพรหมพิราม อำเภอเมือง อำเภอบางระกำ และ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก กับอำเภอสามง่าม อำเภอเมือง และอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร รวมพื้นที่ประมาณ 678,000 ไร่ โครงการระยะที่ 2 นี้ ได้เริ่มงานก่อสร้างเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ.2512 แล้วเสร็จปี พ.ศ.2527         
       
           ระยะที่ 3 ก่อสร้างเขื่อนอุตรดิตถ์ที่บ้านผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อทดน้ำ และมีระบบส่งน้ำ สำหรับพื้นที่สองฝั่งอำเภอเมือง อำเภอลับแล อำเภอตรอน และ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ กับอำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง อำเภอวังทอง และ อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก รวมพื้นที่ประมาณ 873,000 ไร่ โครงการระยะที่ 3 นี้ ยังไม่ได้ดำเนินการ แผนพัฒนาลุ่มน้ำน่านนี้ เป็นการวางแผนที่จะนำน้ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างเต็มที่ จึงได้วางแผนให้เกี่ยวโยงกันทั่วลุ่มน้ำคือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กำหนดระบบวิธีจัดเก็บ และการใช้น้ำ ให้เกิดประโยชน์หลายๆอย่าง รวมทั้งได้กำหนดขั้นตอนของการพัฒนา ให้เหมาะสมกับภาวะท้องที่เป็นระยะๆไป โดยท้องที่ส่วนใหญ่ของทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน มักถูกน้ำท่วมเป็นประจำ การพัฒนา จึงต้องสร้างเขื่อนเก็บน้ำขึ้น ก่อนที่จะสร้างเขื่อนทดน้ำ และระบบส่งน้ำ เพราะหากก่อสร้างเขื่อนทดน้ำและระบบส่งน้ำก่อน น้ำที่ท่วมนองนอกจาก จะยังความเสียหายให้แก่การเพาะปลูกเช่นเดิมแล้ว ยังทำความเสียหายให้แก่งานก่อสร้างเขื่อน ทดน้ำและระบบส่งน้ำ อีกด้วย ดังนั้นจึงได้มีการก่อสร้างเขื่อนสิริกติ์ซึ่งเป็นเขื่อนเก็บน้ำ ขึ้นก่อนเขื่อนอื่นๆ

ขอขอบคุณ
- บทความ www.sirikitdam.egat.com